วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก


มหาสมุทรแปซิฟิกImage copyrightGETTY IMAGES
บทความเชิงวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิวัฒนาการทางธรรมชาติและระบบนิเวศ (Nature and Ecology Evolution) ระบุว่าสารก่อมลพิษ PCBs และ PBDEs ที่ถูกพบปะปนอยู่ในระบบนิเวศใต้ทะเลลึกในปริมาณเข้มข้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องประหลาดใจ

สารเคมีเหล่านี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งหลังจากนั้นก็พบว่าเป็นพิษและสะสมในสภาพแวดล้อม
ดร.อลัน เจมีสัน และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้เก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อไขมันของแอมฟิพอด (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งชนิดหนึ่ง) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้ยานดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมทุรที่ออกแบบมาพิเศษ ปล่อยจากเรือที่ลอยอยู่เหนือร่องน้ำมารีอานา และเคอร์มาเดค ลึกลงไป 10 กิโลเมตร และห่างกัน 7,000 กิโลเมตร
ที่มา: https://www.bbc.com/thai/international-39057387

2 ความคิดเห็น:

  1. ปิดใจสักพักไม่ขอกลับไปรักควาย sexy-baccarat

    ตอบลบ
  2. ทำไมคนถึงหันมาเล่นเกมออนไลน์ในโทรศัพท์มือถืออย่าง joker123 กันมากขึ้น เล่นง่ายสะดวกสบาย ด้วยระบบออโต้ ฝาก-ถอนไวภายใน 1นาที

    ตอบลบ