วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

ญี่ปุ่นถกป้องกันความปลอดภัย-พลังงานนิวเคลียร์

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ในวันนี้ (15 ธ.ค.) ประเทศญี่ปุ่น จัดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น เนื่องจากมีการหารือวิธีการป้องกันความปลอดภัย ในเรื่องนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ยังคงเพ่งเล็งหารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความปลอดภัยของนิวเคลียร์ทั่วโลก หลังจากหายนะจากนิวเคลียร์ และภัยพิบัติสึนามิ ในฟุกุชิมะ(Fukushima) ระยะเวลาในการประชุมทั้งหมด 3 วัน โดยได้มีประธานร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น และสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) นอกจากนี้ ยังเป็นการประชุมร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ ในระดับรัฐบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านป้องกันอุบัติเหตุจากภัยพิบัติด้วย ประเด็นหลักในการประชุมครั้งนี้ เป็นเรื่องของนิวเคลียร์ และพรรคการเมืองของญี่ปุ่น หลายพรรคได้ช่วยกันทำงาน ในการขจัดพลังงานของนิวเคลียร์ แต่อย่างไรก็ตาม พลังงานนิวเคลียร์ ยังคงเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในหลายๆ ประเทศดังนั้น การจัดประชุมจึงคำนึงถึงวิธีการป้องกันและเน้นความสำคัญที่จะช่วยเหลือประเทศสมาชิก IAEA ถึงความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และยังเพิ่มประสิทธิภาพตามกฎระเบียบด้วย
ที่มา: https://www.sanook.com/news/1159125/

พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก


มหาสมุทรแปซิฟิกImage copyrightGETTY IMAGES
บทความเชิงวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิวัฒนาการทางธรรมชาติและระบบนิเวศ (Nature and Ecology Evolution) ระบุว่าสารก่อมลพิษ PCBs และ PBDEs ที่ถูกพบปะปนอยู่ในระบบนิเวศใต้ทะเลลึกในปริมาณเข้มข้นทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องประหลาดใจ

สารเคมีเหล่านี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งหลังจากนั้นก็พบว่าเป็นพิษและสะสมในสภาพแวดล้อม
ดร.อลัน เจมีสัน และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้เก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อไขมันของแอมฟิพอด (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งชนิดหนึ่ง) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้ยานดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมทุรที่ออกแบบมาพิเศษ ปล่อยจากเรือที่ลอยอยู่เหนือร่องน้ำมารีอานา และเคอร์มาเดค ลึกลงไป 10 กิโลเมตร และห่างกัน 7,000 กิโลเมตร
ที่มา: https://www.bbc.com/thai/international-39057387

'ต้านคอร์รัปชัน'ออกโรงป้องอ.ยักษ์ จี้เกษตรฯสอบขรก.เอี่ยวทุนสารเคมี

       เมื่อวันพุธ เพจองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ที่ทำถึงนายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการใช้ สารพิษในการเกษตรที่เป็นอัน ตรายร้ายแรงต่อประชาชน

ทั้งนี้จดหมายระบุว่า เนื่องจากมีความวิตกกังวลในหมู่ประชาชนอย่างมากในขณะนี้ว่า รัฐจะปกป้องชีวิตและสุขภาพของประชาชนอย่างไร เมื่อพบว่าทุกวันนี้อาหารและพืชผลการเกษตรมีสารพิษตกค้างจำนวนมาก อันเป็นผลจากการใช้พาราควอตและสารพิษเพื่อการเกษตรอื่น แต่ก็ยังปล่อยให้มีการจำหน่ายและใช้ทั่วไปในปริมาณมหาศาล แม้นักวิชาการด้านการแพทย์ นักวิจัย กระทรวงสาธารณสุขและกระ ทรวงเกษตรฯ จะออกมาให้ข้อมูลคัดค้านอย่างต่อเนื่อง

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ขอสนับสนุนท่าทีของนายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นักวิจัยอาวุโส รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมและนักวิจัยอีกจำนวนมาก ที่ต้องการเห็นคนไทยมีสุขภาพดี แผ่นดินไทยปราศจากสารพิษ ด้วยการหยุดใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรที่เป็นอันตรายร้ายแรงทั้งหมดในทันที และขอเสนอแนวทางต่อรัฐ บาล 3  ข้อ ดังนี้

1.ในการพิจารณาของคณะ กรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 ขอให้ยึดเอาสุขภาพที่ดีของ ประชาชน สำคัญกว่าผลประ โยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า และให้นำผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการปฏิรูปประ เทศคณะต่างๆ ทั้งด้านสังคม ด้านสาธารณสุข ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะทำงานสารที่มีความเสี่ยงสูง ของกระทรวงสาธารณสุขมาใช้ประกอบการตัดสินใจ

2.ควรเปิดเผยรายชื่อเอกชนที่มีผลประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือต่างชาติเพื่อความโปร่งใส และสนับสนุนให้ หน่วยงานของรัฐ เช่น ดีเอสไอ ได้สอบสวนเชิงลึกเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ของบุคคลในคณะกรรม การวัตถุอันตราย อนุกรรมการ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ต่อทะเบียนกับนักธุรกิจสารพิษเพื่อการเกษตร ว่ามีพฤติกรรมที่ฉ้อฉลหรือมีการเอื้อประโยชน์กันหรือไม่

3.ควรแก้ไขพระราชบัญ ญัติวัตถุอันตรายฯ โดยเปลี่ยน แปลงองค์ประกอบของคณะกรรม การ ให้มีตัวแทนภาคประชาชนและหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งควรให้กระ ทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาตัดสินใจ ในตอนท้ายของจดหมายเปิดผนึกยังระบุว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เห็นว่าเพื่อปกป้องชีวิตและสุข ภาพของประชาชน รัฐบาลควรให้ยุติการใช้งานสารพิษร้ายแรงเหล่านี้ จนกว่าผู้จำหน่ายจะสามารถหาข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดว่าไม่เป็นพิษต่อประชาชน

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/tpd/2885810

ชายบุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ

นุ่มคลั่ง บุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนพังเละ สารเคมีเกลื่อนห้อง หวิดดับคาสารเคมี
วานนี้(31 มี.ค.) เฟซบุ๊กเพจ SV News ข่าวบางแสน ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า สภ.แสนสุข จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งจาก รปภ.ว่ามีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้ามาภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนและทุบกระจกแตกหลายจุด เจ้าหน้าที่จึงรีบไปตรวจสอบพร้อมกับ รปภ. พบชายอายุประมาณ 25 ปีอยู่ในอาการคล้ายคนเมายา
โดยเจ้าหน้าที่ รปภ.พยายามเข้าไปใกล้หนุ่มคนดังกล่าวก็มีอาการตื่นตกใจและวิ่งหนีเข้าไปภายในห้อง จุลชีว ซึ่งเป็นห้องสารเคมีและห้องเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลและพืชชนิดต่างๆ รวมถึงมีอุปกรณ์ต่างๆเครื่องตรวจสภาพน้ำและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างมีราคาแพงเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยชายคนดังกล่าวทุบกระจกและเข้าไปภายในห้องและทุบทำลายข้าวของทุกอย่างจนพังเละ ส่วนชายคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บถูกกระจกบาดที่มือจนเลือดไหลนองเต็มห้อง
เจ้าหน้าที่พยายามจะเข้าไปควบคุมตัวแต่เข้าไปไม่ได้ เนื่องจากห้องดังกล่าวเป็นห้องเก็บสารเคมีซึ่งมีกลิ่นแรงมากไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ชายคนดังกล่าวนอนนิ่งอยู่ข้างในห้องเกรงจะเสียชีวิต เพราะสารเคมีมีกลิ่นแรงมาก รปภ.จึงจะพยายามเข้าไปช่วย จนกระทั่งชายคนดังกล่าวพยายามเดินออกมาและนอนอยู่หน้าห้อง หัวหน้า รปภ.จึงพยายามเข้าไปเกลี้ยกล่อมจนกระทั่งชายคนดังกล่าวยอมออกมาจากห้อง ชายคนดังกล่าวมีอาการพูดจาไม่รู้เรื่อง มีบาดแผลที่แขนและมือ จากการสอบถามทราบว่าชื่อนายพิทักษ์ อายุ 26 ปี เป็นคนจังหวัดหรองบัวลำภู มาทำงานก่อสร้าง รปภ.จึงรีบนำตัวส่ง โรงพยาบาล ม.บูรพาต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์

อ.เจษฎาเตือน! สารเคมีจากเคสมือถือกลิตเตอร์อาจเสี่ยงผิวหนังไหม้-พุพอง


เคสโทรศัพท์มือถือชนิดที่สามารถใส่ของเหลว ทั้งแบบมีสีและไม่มีสี ผสมกลิตเตอร์ หรือกากเพชรวิววับ เป็นที่นิยมในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เห็นทีจะไม่ปลอดภัย 100% เมื่อมีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า เด็กหญิง 9 ขวบ เกิดเหตุของเหลวจากเคสโทรศัพท์มือถือรั่วไหล สัมผัสบนผิวหนังขณะนอนหลับทับเคส ตื่นเช้ามาพบรอยไหม้ และพุพอง

นอกจากนี้ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเตือนว่าหากผิวหนังสัมผัสของเหลวภายในเคสมือถือ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำเปล่ามากๆ เพื่อป้องกันผิวหนังพุพองจากสารเคมี

ผักไทยพบสารเคมีตกค้างเกือบ 100% แทบทุกชนิด

ไม่ว่าจะช่วงเทศกาลกินเจ หรือช่วงปกติ การทานผักเป็นเรื่องที่เราควรทำเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี แต่ข่าวร้ายคือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รพ.ศิริราช) ตรวจพบสารเคมีตกค้างจากยาฆ่าแมลงในผักสดของไทยหลายชนิด ที่เกินค่ามาตรฐานไปมาก กล่าวคืออยู่ที่ 85-100% เลยทีเดียว นับว่าเป็นตัวเลขที่น่ากลัว จนต่างประเทศรับไม่ได้อย่างแน่นอน
 พบสารเคมีเกือบ 100% จริง!
จากคลิปจะเห็นได้ว่า ตรวจพบผักที่มีสารเคมีจากยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่หลายชนิด เช่น ผักคะน้า พบสารเคมีตกค้างอยู่ที่ 85% ผักบุ้งจีน 98% ผักกวางตุ้ง 99% และกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ แตงกวา พบมากถึง 100% เรียกได้ว่าพบสารเคมีตกค้างทุกแหล่งผลิตเลยก็ว่าได้ เพราะคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (รพ.ศิริราช) สุ่มเก็บตัวอย่างมาทดสอบจากกว่า 100 แห่ง จากหลายจังหวัดทั่วประเทศ และในทุกฤดูกาลเลยทีเดียว
ปลูกผักผลไม้ที ใช้สารเคมี 20 กว่าชนิด?
นอกจากจะเจอสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยมของคนไทยหลายชนิดแล้ว แต่ละชนิดยังไม่ได้พบสารเคมีแค่ตัวเดียวอีกด้วย เช่น ในผักคะน้า พบสารเคมีตกค้างมากถึง 12 ชนิด มังคุด พบสารตกค้างมากถึง 20 ชนิด หรือว่าจะเป็นส้มที่พบมากถึง 21 ชนิดเช่นกัน นั่นหมายความว่าเกษตรกรใช้สารเคมีมากถึง 21 ชนิดในการปลูกส้มนั่นเอง
ถูก-แพง ก็พบสารเคมีเหมือนกัน!
นอกจากนี้ รศ. ดร. สมพนธ์ วรรณวิมลรักษ์ จากศูนย์วิจัยพัฒนานวัตกรรม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าโครงการวิจัยผัก และผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ราคาของผักไม่ได้การันตีว่าจะไม่พบสารเคมี หรือพบสารเคมีมากกว่าหรือน้อยกว่าแต่อย่างใด จากการสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ทั้งจากตลาดสด และในซุปเปอร์มาร์เก็ตขึ้นหาก ทั้งจากแหล่งผลิตที่เขียนข้างบรรจุภัณฑ์ชัดเจนว่า “ผักปลอดสารพิษ” “ผักอินทรีย์” สุดท้ายก็เจอสารเคมีเพียบ นั่นหมายความว่าเราจ่ายเงินมากกว่าหลายเท่า แต่ได้ผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากเท่าๆ กับผักผลไม้ในตลาดสด
เคล็ดลับการล้างผักผลไม้ เพื่อลดสารพิษ ยาฆ่าแมลง สารเคมีตกค้างต่างๆ
1. ล้างผักผลไม้ด้วยด่างทับทิม ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 20-30%
2. ล้างด้วยน้ำผสมน้ำส้มสายชู ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 30-40%
3. ล้างด้วยน้ำผสมผงฟู หรือเบกกิ้งโซดา ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 30-40%
4. ล้างผักด้วยวิธีน้ำไหล โดยแยกใบผัก กลีบผักออกมา แช่ในน้ำ 10 นาที จากนั้นหยิบใบผักขึ้นมา เปิดก็อกให้น้ำไหลผ่านผักและผลไม้ทีละใบ ทีละก้าน ถูๆ ให้สะอาดราว 2 นาที วิธีนี้ช่วยลดปริมาณสารตกค้างในผักผลไม้ได้ 60-70%